อาการบาดเจ็บ ที่ได้รับจากการ เพาะกล้าม
อาการบาดเจ็บ ที่ได้รับจากการ เพาะกล้าม
นักเพาะกายจะต้องได้รับการฝึกฝนที่หนักหน่วงในการฝึกซ้อมทุกวัน เพื่อให้ร่างกายนั้นมีความกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอและสามารถเตรียมความพร้อมในการลงแข่งหรือฝึกความอดทนของร่างกายต่อระยะเวลาการออกกำลังกายที่นานขึ้น ในขณะที่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
การที่จะต้องออกกำลังกายอย่างหนักจะต้องมีการอบอุ่นร่างกายทุกครั้งอย่างหนักเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีความผ่อนคลายและสามารถเพิ่มกำลังในการขยายตัวของกล้ามเนื้อให้ได้มากขึ้นกว่าสภาวะปกติ โดยไม่ได้รับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ รวมทั้งการวอร์มร่างกายยังเป็นการยืดเส้นเอ็นให้หายตึงผ่อนคลายขึ้นทั้งส่วนของไขข้อกระดูกกระดูกข้อต่อต่าง ๆ ให้ผ่อนคลาย คลายล็อคที่อาจเกิดได้การเกร็งตัวในสภาวะการทำงานระหว่างวัน การยืน นั่ง นอน เดิน หรือการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ซึ่งกล้ามเนื้อเกิดความเครียดขึ้น จึงอาจทำให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อและเส้นเอ็นยังไม่พร้อมที่จะขยายยืดหดตัวตามกำลังของการออกกำลังกาย จึงต้องมีการยืดก่อนเล่นกีฬาเสมอ
อาการบาดเจ็บที่ได้รับจากการเพาะกล้ามของนักเพาะกายนั้น ล้วนเป็นสาเหตุของการละเลยที่จะวอร์มร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเส้นเอ็นอักเสบ กระดูกไขข้ออักเสบ กล้ามเนื้อฉีกขาด กล้ามเนื้อบอบช้ำจากการออกกำลังกาย รวมทั้งการปวดที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย ซึ่งเป็นผลข่างเคียงที่มักเจอเป็นประจำอยู่เสมอ ๆ
เมื่อได้รับบาดเจ็บที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายภายหลังจากการออกกำลังกายให้หยุดพักทันที แล้วสังเกตตนเองว่ามีความผิดปกติที่จุดใดอาการรุนแรงมากแค่ไหน ควรเข้าไปปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเพื่อรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรับยามารับประทานให้เหมาะสม บางรายอาจจะมีการบำบัดร่างกายผ่อนคลายอาการเกร็งหรืออาการเจ็บปวดให้ทุเลาลงหรืออาจจะมีการนวดคลายเส้นต่าง ๆ โดยเป็นวิธีหัตถการทางการแพทย์ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาเป็นข้อปฏิบัติขณะทำการพักฟื้นร่างกาย ควบคู่กับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งจ่าย
ในส่วนของการรับประทานอาหารของนักเพาะกายนั้นควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารมื้อหลักประเภทโปรตีน ที่ให้คุณค่าอาหารในด้านของกล้ามเนื้อ ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกายที่เกิดขึ้นภายหลังจากการออกกำลังกายได้ ควรมีการหลักนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและสมานบาดแผลภายภายในที่มีการฉีกขาดหรืออักเสบให้มีอาการที่ดีขึ้นและอาการบาดเจ็บให้น้อยลง เพื่อที่จะได้สามารถกลับมาฝึกฝนกล้ามเนื้อ และกลับมาออกกำลังกายได้อีกครั้ง ในขณะที่ทำการพักฟื้น ควรมีการยืดเส้นแบบเบา ๆ อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เส้นเอ็นต่าง ๆ เกิดการบาดเจ็บได้ในที่สุด
อาการบาดเจ็บ ที่ได้รับจากการ เพาะกล้าม
- วิธีป้องกันการเกิดตะคริวขณะออกกำลังกาย
- อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ
- ลดต้นขาใหญ่ แนะนำสำหรับผู้หญิง
- เพิ่มกล้ามเนื้อหลัง ออกกำลังกาย
.
.