ป้องกันและแก้ปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม
ป้องกันและแก้ปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม
ปัจจุบันผู้คนยุควัยทำงาน เสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมกันมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ด้วยสาเหตุจากทั้งความเครียด ความอ่อนล้า ร่วมไปถึงการนั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเพื่อให้ร่างกายได้ยืดเส้นยืดสาย อีกทั้งเมื่อถึงเวลาเลิกงานยังคงแบกความเครียดนกลับไปอีก จนทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมร่วมด้วย
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่สังเกตอาการได้อย่างชัดเจนจากอาการปวดอย่างเรื้อรังบริเวณต้นคอและหัวไหล่ หากในระยะยาวจะลามลงมาถึงการปวดหลังอีกด้วย หรือในบางรายอาจจะมีอาการชาบริเวณและปลายนิ้วมือร่วมด้วย หรืออาจจะรุนแรงถึงมีอาการอ่อนล้าลุกลามอีก
ป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
- พยายามไม่นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ให้ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ให้ร่างกายได้สับเปลี่ยนท่า ให้เลือดได้หมุนเวียน ป้องกันอาการปวดหลังและไหล่ได้
- หากไม่สะดวกในการลุกออกจากโต๊ะ ให้พยายามเปลี่ยนท่านั่งทุก 15 นาที หรือลุกขึ้นยืนแล้วขยับขาและข้อเท้าทุก 1 ชั่วโมง จะช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายเช่นกัน
- ยืดกล้ามเนื้อหลังจากตื่นนอน เพื่อให้ร่างกายพร้อมกับการนั่งเป็นเวลานาน ด้วยการยืดมือสุดแขนแล้วค้างไป 20 วินาที หมุนคอข้างละ 5 ครั้ง และลุกจากเตียงมาบิดเอวซ้ายและขวา ข้างละ 10 ครั้ง
แก้ไขและบรรเทาอาการโรคออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น
- การออกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย จะเป็นออกกำลังกายที่มีหนักมากหนัก เช่น การเล่นโยคะร้อน เพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดเบื้องต้น จะเน้นลักษณะการออกกำลังกายแค่พื้นฐานเท่านั้น ให้ร่างกายได้ผ่อนคลายอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ระหว่างวันให้เพียงพอต่อร่างกายต้องการ โดปกติร่างกายจะต้องการน้ำต่อวันอยู่ที่ 8 แก้วหรือประมาณ 2 ลิตร การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายมีความชุมชื่นและไหลเวียนได้ดี เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
- การทำสปา จะทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดได้ นอกจากการนวดแต่การได้แช่น้ำอุ่นที่มีกลิ่นหอมจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้
การรักษาหากมีอาการอย่างรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษาทางการแพทย์ ด้วยวิธีการ กระตุ้นแม่เหล็กซึ่งจะเป็นความเห็นของแพทย์และอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น
ดังนั้น เราจึงควรเริ่มดูแลตัวเองเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคเป็นการดีที่สุด เพราะเมื่อมีอาการรุนแรงบางครั้งอาจจะยังไม่สามารถรักษาได้ทันที อาจจะต้องรอระยะเวลาเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งอาจจะผลหรือโรคแทรกซ้อนอื่นตามมาได้