ฟิตเนสบอดี้

ท่าแพลงก์ที่ถูกต้อง

ท่าแพลงก์ที่ถูกต้อง

การออกกำลังกายด้วยการแพลงกิ้ง ถือว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปปรับใช้กับ การออกกำลังกาย ได้หลากหลายรูปแบบ ท่าแพลงก์ยังไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคการฝึกมากมายเพียงแค่ต้องอาศัยความอดทนเท่านั้นเอง ท่าแพลงก์ ถูกแบ่งออกไปสองกลุ่มคือแบบ เคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มแรงต้าน กับแบบที่ค้างไว้อยู่กับที่ แต่ก็เป็นการใช้พื้นฐานของท่าแบบค้างไว้กับที่เป็นหลักการทำทั้งสองแบบสามารถเพิ่มความยากเข้าไปโดยการเพิ่มอุปกรณ์ หรือการเพิ่มระยะเวลาความนานในการทำ

การฝึกแพลงกิ้ง ยังช่วยในเรื่องของการปรับบุคลิกท่าทางให้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระชับหน้าท้อง สะโพก ต้นขา เพิ่มความแข็งแรงให้กับแกนกลางลำตัว ยังส่งเสริมประสิทธิภาพให้ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาอื่น ๆ ได้ดีขึ้น โดยที่ใช้พื้นที่ในการทำที่น้อยมาก ๆ

แต่หากใครที่กำลังเพิ่งเริ่ม และไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้ทั้งหมดแบบเต็ม ๆ แนะนำว่าควรเริ่มจากการทำง่าย ๆ ก่อนเช่น การแพลงก์กับกำแพง เพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำหนักตัว แล้ว ๆ เพิ่มแรงต้านมากขึ้นด้วยการลดมาทำกับเก้าอี้ ขอบเตียง จนสามารถแพลงก์บนพื้นได้ แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปไปไม่ว่าจะเป็นท่าต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เวลาให้นานมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามการที่จะแพลงก์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็ควรต้องทำด้วย “ท่าแพลงก์ที่ถูกต้อง” การทำที่ถูกต้องเริ่มที่สะโพก ก้นต้องไม่โก่ง และต้องตรงอยู่ในระนาบเดียวกับขา และลำตัว การที่ก้นโก่งขึ้น ไม่ได้ส่งผลเสียในเรื่องทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด แต่การที่ก้นโก่งขึ้นจะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนท้องไม่พัฒนา เพราะหนึ่งในหลักการทำแพลงก์คือต้องการบริหารกล้ามเนื้อส่วนนี้ให้มากที่สุด ดังนั้นหากรู้สึกว่าท้องไม่เกร็งแสดงว่าก้นโก่งหลังแอ่น ต้องลดสะโพกลงมาให้อยู่แนวเดียวกับลำตัว และขา

ในส่วนของการจัดท่าของแผ่นหลังก็ต้องตรง ไม่แอ่น ลำตัวไม่งอ ต้องอยู่ในระนาบเดียวกับ สะโพกและขาการที่หลังแอ่นหรือโค้ง ก็ไม้ได้ส่งผลให้ร่างกายบาดเจ็บเช่นกัน แต่มันไม่ถูกหลังในการทำแพลงกิ้งที่ส่งผลโดยตรงต่อการบริการกล้ามเนื้อหน้าท้อง หากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อส่วนท้องไม่เกร็งก็แสดงว่าหลังแอ่นมากไป วิธีแก้คือให้หลัง สะโพก และขา อยู่ในระนาบเดียวกันให้มากที่สุด ซึ่งหากทำถูกต้องแล้วจะรู้สึกได้ถึงกล้ามเนื้อบริเวณท้องที่ตึงเกร็ง

ทั้งหมดเป็นหลักการ “ท่าแพลงก์ที่ถูกต้อง” โดยรวมที่สามารถนำไปใช้ได้กับท่าแพลงก์ทุกท่า หากใครกำลังเริ่ม หรือคิดว่าตัวเองทำผิดก็ลองนำไปปรับใช้ดูกันได้เลย


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *