ทำความรู้จัก การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง
ทำความรู้จัก การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง
ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นยุคที่ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสุขภาพด้วย วิธีการออกกำลังกาย กันมากขึ้น ซึ่งในการออกกำลังกายนั้น ถือได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบ ให้ได้เลือกทำกันโดยที่แต่ละ รูปแบบหรือชนิดสำหรับการออกกำลังกาย เหมือนมีจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกันนั่นก็คือการสร้างประโยชน์และความแข็งแรงให้กับสุขภาพร่างกาย
สำหรับใครที่กำลังลังเล และยังไม่รู้ว่าจะเลือกวิธีการออกกำลังกายรูปแบบไหนให้เหมาะสมกับตนเอง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จัก การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันเลย ทีเดียว โดยแนวทางการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง มีข้อมูลพื้นฐานที่ควรต้องรู้ ดังต่อไปนี้
การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง
เวทเทรนนิ่ง ที่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการออกกำลังกาย ที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเลือกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้การออกกำลังกาย ประเภทนี้ จะเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ให้ความสำคัญไปในด้านการเพิ่มและเสริมสร้างมวลของกล้ามเนื้อในร่างกาย ผ่านกระบวนการถ่วงดุลน้ำหนักของอุปกรณ์และการใช้ประโยชน์จากแรงต้านทานที่มี นอกจากนี้ การอาศัยประโยชน์จากน้ำหนักตัวเพื่อสร้างแรงถ่วงดุล ก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง เช่นเดียวกัน
ผู้ที่เหมาะสมกับเวทเทรนนิ่ง
แน่นอนว่า การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เป็นการออกกำลังกายที่พึ่งพาอุปกรณ์ และมุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์ของน้ำหนัก เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ การเวทเทรนนิ่งจึงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้เพิ่มมากขึ้นหรือมีความชัดเจนและสวยงาม นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้ที่ จะต้องใช้ประโยชน์จากความแข็งแรงของร่างกายในชีวิตประจำวันหรือการทำงานอีกด้วย
สำหรับผู้ที่จะออกกําลังกายแบบเวทเทรนนิ่งได้ ดีและเหมาะสมนั้น ไม่ควรจะเป็นผู้ที่มีข้อจำกัดใดๆ ทางด้านร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยหรืออาการบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยให้ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ มาออกกำลังกายด้วยเวทเทรนนิ่งแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมหมายถึงความอันตรายและอาการบาดเจ็บที่หนักมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ หากต้องการ เวทเทรนนิ่ง ควรปรึกษาและขออนุญาตแพทย์ผู้ดูแล ก่อนที่จะมาลงมือปฏิบัติจริง
รูปแบบสำหรับการเวทเทรนนิ่ง
สำหรับการออกกำลังกาย ในรูปแบบเวทเทรนนิ่ง เป็นการออกกำลังกาย ที่จะต้องอาศัยน้ำหนักของอุปกรณ์ รวมไปถึงสร้างแรงโน้มถ่วงในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดขึ้น เพื่อเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อให้หนักมากขึ้น นั่นเอง
โดยการเวทเทรนนิ่ง สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้
– การออกกำลังกายด้วยการยกดัมเบล
– การออกกำลังกายด้วยการยกบาร์เบล
– การออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬายกน้ำหนัก
– การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ที่มีตุ้มถ่วงน้ำหนัก
– การออกกำลังกายด้วยการใช้สิ่งของต่างๆที่มีน้ำหนักมาทดแทนอุปกรณ์
นอกจากนี้ อีกหนึ่งรูปแบบการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งที่เกิดขึ้นมาและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นั่นก็คือ การอาศัยประโยชน์จากน้ำหนักที่มีภายในร่างกาย มาทดแทนอุปกรณ์ เช่น การดึงข้อ หรือการโหนราว รวมไปถึงรูปแบบการออกกำลังกายแบบที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เลย หรือที่เรียกกันว่า การออกกำลังกายด้วยท่าบอดี้เวทนั่นเอง
ระยะเวลาและปริมาณสำหรับการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง
ในระยะแรกเริ่มต้นหรือประมาณ 3 – 4 สัปดาห์แรก ควรเริ่มต้นด้วยน้ำหนัก ที่ไม่มากจนเกินไป ให้ร่างกายได้มีพื้นฐานและคุ้นชินไปก่อน หลังจาก 3-4 สัปดาห์แรกไปแล้ว จึงค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น แต่จะต้องอยู่ภายใต้ของน้ำหนักที่รับไหว ทั้งนี้หากมีเทรนเนอร์หรือผู้มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำก็จะถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยให้การเวทเทรนนิ่งของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของจำนวนวันที่เหมาะสมในการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ควรจะอยู่ที่ 3-4 วัน ต่อ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ หากร่างกายมีความคุ้นชิน หรือ ต้องการออกกำลังกายด้วยจำนวนที่มากกว่านี้ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน และสำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการออกกำลังกาย ใน 1 วัน ควรจะอยู่ที่ 30 นาทีขึ้นไป ตามแต่ที่ผู้ออกกำลังกายจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลานั่นเอง
ทั้งหมดนี้ คือข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ที่เรานำมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายในรูปแบบนี้ ควรมีคู่บัดดี้หรือเทรนเนอร์ คอยดูแลเพื่อเซฟความปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ที่ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งนั้น ควรจะต้องรู้จักลิมิตและความเหมาะสมของตนเองเป็นอย่างดี ซึ่งหากเลือกน้ำหนักที่เกินกำลังหรือขีดความสามารถของร่างกายแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นย่อมไม่เป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน
ทำความรู้จัก การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง
- ท่าออกกำลังกายง่าย ๆ ที่ใช้เพียงแค่ดัมเบล
- สร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแขน
- 5 เทคนิคปั้นกล้ามเนื้อหน้าแขน (Biceps)
.
.